สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ
สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ | |
---|---|
โปสเตอร์ภาพยนตร์ | |
กำกับ | แดนนี บอยล์ เลิฟลีน แทนแดน (ร่วมกำกับ) |
บทภาพยนตร์ | ไซมอน โบฟอย |
สร้างจาก | Q & A โดย Vikas Swarup |
อำนวยการสร้าง | คริสเตียน โคลสัน |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | Anthony Dod Mantle |
ตัดต่อ | คริส ดิกเกนส์ |
ดนตรีประกอบ | A. R. Rahman |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | Pathé Distribution[iii] |
วันฉาย |
|
ความยาว | 120 นาที[1] |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร[2][3][4] |
ภาษา | อังกฤษ |
ทุนสร้าง | 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] |
ทำเงิน | 378.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] |
สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ (อังกฤษ: Slumdog Millionaire) เป็นภาพยนตร์ดรามาสัญชาติอังกฤษใน ค.ศ. 2008 ที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรม Q & A (2005) โดย Vikas Swarup นักเขียนชาวอินเดีย ภาพยนตร์นี้เล่าเรื่อง Jamal Malik ชายวัย 18 ปีจากสลัม Juhu ในมุมไบ[6] เดฟ พาเทลเปิดตัวในภาพยนตร์ในบท Jamal และถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศอินเดีย กำกับโดยแดนนี บอยล์[7] เขียนบทโดยไซมอน โบฟอย และผลิตโดยคริสเตียน โคลสัน พร้อมเลิฟลีน แทนแดนที่มีเครดิตเป็นผู้ร่วมกำกับ[8] Jamal เป็นผู้เข้าแข่งขันในรายการ Kaun Banega Crorepati รายการฮูวอนส์ทูบีอะมิลเลียนแนร์? ฉบับภาษาฮินดี สร้างความประหลาดใจแก่ทุกคนด้วยการตอบคำถามทั้งหมดถูกต้อง โดยชนะเงินรางวัลถึง ₹2 กรอร์ (460,000 ดอลลาร์สหรัฐ) เขาเล่าเรื่องชีวิตให้แก่ตำรวจว่าตนสามารถตอบคำถามแต่ละข้อถูกอย่างไรหลังถูกกล่าวหาว่าโกงเกม
หลังฉายรอบเปิดตัวที่เทศกาลภาพยนตร์เทลลูไรด์ และภายหลังฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโตและเทศกาลภาพยนตร์ลอนดอน[9] จึงมีการฉาย สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ ทั่วโลก โดยออกฉายในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2009 ในอินเดียเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2009[10] ภาพยนตร์นี้ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง โดยยกย่องในด้านเนื้อเรื่อง ซาวน์แทร็ก การถ่ายภาพยนตร์ การตัดต่อ การกำกับ และการแสดง (โดยเฉพาะพาเทล) ภาพยนตร์ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ประจำปี 2009 10 รางวัล และชนะ 8 รางวัล ซึ่งถือว่ามากที่สุดสำหรับภาพยนตร์ใน ค.ศ. 2008 และยังชนะ รางวัลแบฟตา 7 รางวัล รางวัลคริติกส์ชอยส์ 5 รางวัล และโกลเดนโกลบส์ 4 รางวัล อย่างไรก็ตาม คำตอบรับในประเทศอินเดียและชนพลัดถิ่นชาวอินเดียนั้นผสมกัน และตัวภาพยนตร์ตกอยู่ในประเด็นถกเกียงจากการแสดงภาพความยากจนในประเทศอินเดียและปัญหาอื่น ๆ โดยทางฮินดูสถานไทมส์กล่าวถึงภาพยนตร์นี้เป็น "การโจมตีความภาคภูมิใจในตนเองของอินเดีย"[11]
เนื้อเรื่อง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลออสการ์
- สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม
- สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม
- สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม
- สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม
- สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
หมายเหตุ
[แก้]- iii Fox Searchlight Pictures distributed Slumdog Millionaire theatrically in the United States under a shared distribution agreement with Warner Bros. Pictures;[12] Pathé themselves distributed the film in its native United Kingdom, the studio's native France and through their own distribution division in Switzerland named Monopole-Pathé[13] while other independent distributors released the film in other territories.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Slumdog Millionaire (15)". British Board of Film Classification. 7 May 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2017. สืบค้นเมื่อ 7 May 2017.
- ↑ "Slumdog Millionaire (2008)". Screen Daily. 6 September 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2014. สืบค้นเมื่อ 30 May 2014.
- ↑ "Slumdog Millionaire (2008)". British Film Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2014. สืบค้นเมื่อ 2 May 2014.
- ↑ Bradshaw, Peter (9 January 2009). "Slumdog Millionaire". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2017. สืบค้นเมื่อ 13 December 2016.
- ↑ 5.0 5.1 "Slumdog Millionaire". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2009.
- ↑ Sengupta, Somini (11 November 2008). "Extreme Mumbai, Without Bollywood's Filtered Lens". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2017. สืบค้นเมื่อ 25 February 2017.
- ↑ Robinson, Tasha (26 November 2008). "Danny Boyle interview". The A.V. Club. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2008. สืบค้นเมื่อ 24 May 2009.
- ↑ "Oscar nominations 2009: Indian director 'overlooked' for Slumdog Millionaire awards". The Daily Telegraph. 23 January 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2018. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
- ↑ Gritten, David (31 October 2008). "Slumdog Millionaire at the London Film Festival – review". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2014. สืบค้นเมื่อ 17 January 2012.
- ↑ Jamkhandikar, Shilpa (23 January 2009). ""Slumdog" premieres in India amid Oscar fanfare". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2009. สืบค้นเมื่อ 24 May 2009.
- ↑ "Slumdog Millionaire is an assault on Indian self-esteem". Hindustan Times. 23 March 2009. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- ↑ Flaherty, Mike (20 August 2008). "Fox, WB to share 'Slumdog' distribution". Variety. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2008. สืบค้นเมื่อ 12 November 2008.
- ↑ "Film: Slumdog Millionaire (2008) - movies.ch - cinéma, film & DVD en Suisse".
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ ที่แค็ตตาล็อกสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน
- สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ ที่ออลมูวี
- สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ ที่บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ
- สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ ที่เมทาคริติก
- สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ ที่รอตเทนโทเมโทส์
- Slumdog Millionaire ที่สยามโซน
- Review Essay in Visual Anthropology: Virtue Ethics of Boot Polish and Dosti, as Compared with Slumdog Millionaire